Skip to content
วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 27, 2021

ข่าวธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวธุรกิจในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Business News in Thailand & South East Asia
ข่าวธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข่าวธุรกิจในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Business News in Thailand & South East Asia
  • เศรษฐกิจ
  • เชิงพาณิชย์
  • ห่วงโซ่บล็อก
  • เงิน
  • ธุรกิจ
ธุรกิจ

LINE เผย 4 เทรนด์หลัก หนุนธุรกิจไทย รับ “เอเชีย” อนาคตใหม่เศรษฐกิจโลก

Praew 2021-02-13 accountcommercelineliveofficial

LINE เผย 4 เทรนด์หลัก หนุนธุรกิจไทย รับ “เอเชีย” อนาคตใหม่เศรษฐกิจโลก

LINE แนะธุรกิจไทยต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับ "เอเชีย" ที่จะกลายเป็นเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต หลังจากในรอบปีที่ผ่านมาประเทศกลุ่มนี้ รับมือสถานการณ์โควิดในหลายด้าน ได้ดีกว่าฝั่งตะวันตก

รายงานข่าวจาก LINE ประเทศไทย แพลตฟอร์มดิจิทัล  เผยว่าจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ผลการรับมือสถานการณ์จากประเทศฝั่งเอเชียถือว่าทำได้ดี เมื่อเทียบกับความล้มเหลวครั้งใหญ่ในการรับมือของกลุ่มประเทศแถบตะวันตกที่พรั่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีและเงินทุน 

ผลครั้งนี้มิใช่เป็นเพียงแค่เรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด แต่ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจต่อไปในทั่วโลกที่เข้าสู่ยุคใหม่ที่เอเชียเป็นผู้นำ ดังที่เห็นในภาคธุรกิจของประเทศไทยในปีที่ผ่านมา การเร่งสปีดเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างกะทันหันท่ามกลางสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนไป 

ระเบียบการป้องกันการระบาดที่เคร่งครัดมากขึ้น และพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน วิถีการดำเนินธุรกิจ การทำการตลาดในรูปแบบเดิมๆ ตามหลักสากลที่ทำกันมาช้านานทั่วโลก จึงไม่สามารถช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดหรือเติบโตต่อไปได้แล้วในปัจจุบัน

ขณะที่ LINE มองเห็นถึงประเด็นความสำคัญนี้ พร้อมเผย 4 เทรนด์การทำธุรกิจในไทย ในวันที่หลักสากลอาจไม่ใช่หนทางการเติบโตที่เห็นผลชัด และเมื่อศักยภาพของเอเชียมุ่งพร้อมสู่การเป็นอนาคตใหม่ของเศรษฐกิจโลก โดยมุ่งชี้แนะแบรนด์และนักการตลาดไทยตื่นตัว ปรับเปลี่ยน สร้างกลยุทธ์ธุรกิจในแบบฉบับตนเอง ไม่เพียงเพื่อให้อยู่รอด แต่เพื่อรับมือการแข่งขันอันดุเดือดในปีนี้ และเติบโตอย่างต่อเนื่องไปได้ในระยะยาวในโลกดิจิทัล

1.ทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ Advanced Data Marketing

Data is New Oil ยังคงเป็นหลักในการทำการตลาดออนไลน์อยู่เสมอ แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคแห่งการแข่งขันบนโลกดิจิทัลอย่างแท้จริงในปีนี้ การทำ Data Marketing เพียงผิวเผิน โดยไม่มีการสร้างฐานข้อมูลลูกค้าเป็นของตนเอง บวกกับปัจจัยภายนอก เช่น  นโยบายการตั้งค่าบล็อก Third-Party Cookies เป็นค่าเริ่มต้นจากแพลตฟอร์มต่างๆ จะยิ่งกลายเป็นข้อจำกัดสำคัญในการเติบโตบนโลกดิจิทัล ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่จะหันมาให้ความสำคัญกับการมีข้อมูลของลูกค้าเป็นของตนเอง  

โดยต้องเป็นข้อมูลที่ลูกค้าอนุญาต ด้วยการสร้าง CDP หรือ Customer Data Platform เป็นของตนเอง เพื่อเดินหน้าสู่การทำ ‘Advanced Data Marketing’ ยกระดับโครงสร้าง ระบบการทำธุรกิจบริการในทุกภาคส่วน (Full-Loop) ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำสู่วิถีดิจิทัล ไม่ใช่เพื่อการสื่อสาร การตลาดเพียงอย่างเดียว โดยใช้ดาต้ามาพัฒนาตั้งแต่ระบบภายในองค์กรสู่ Cross-Functional Integration คือการ Sync หรือแชร์ดาต้าภายในแผนกต่างๆ ร่วมกันได้ดีกว่าเดิม ต่อยอดไปถึงการพัฒนา Co-Brand Campaign ให้แม่นยำมากขึ้น

รวมไปถึงการนำเอาดาต้ามาวางแผน Customer Journey ที่เชื่อมต่อทุก Touchpoint ของธุรกิจให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อสร้างประสบการณ์การอันไร้รอยต่อให้กับลูกค้า ตัวอย่างแบรนด์ที่เริ่มสร้าง CDP และมีการนำดาต้ามาสร้าง Journey ที่ดีให้กับลูกค้า เช่น Starbucks และ Central ที่มีการใช้ข้อมูล ที่ได้รับอนุญาตจากลูกค้าผ่าน LINE Official Account มาเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลลูกค้าของตนเองจากช่องทางต่างๆ มาสร้างประสบการณ์การใช้งานของสมาชิกแต่ละคนได้เป็นอย่างดี

2.Localize และ Personalize คีย์หลักกลยุทธ์ที่ใช่สำหรับคนไทย

แบรนด์เริ่มเปลี่ยนไปเน้นเรื่องคุณภาพของกลุ่มเป้าหมายแทนปริมาณ ในขณะที่กลยุทธ์การตลาด การยิงโฆษณาบนแพลตฟอร์มเดิม ด้วยสูตรเดิมๆ ตามหลักสากลอาจให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำหรือมีประสิทธิภาพน้อยลง การ ‘สร้าง’ กลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ ที่ใช่สำหรับคนในแต่ละพื้นที่และ ‘ถูกจริต’ โดนใจกลุ่มเป้าหมายแม้จะได้จำนวนน้อยแต่มีคุณภาพ จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ของกลยุทธ์การตลาดในโลกปัจจุบัน

เห็นได้จากแบรนด์ใหญ่แบรนด์ดังระดับโลกหลายแบรนด์ ที่เริ่มละทิ้งแพทเทิร์นเดิมแบบสากลที่ทำมาช้านานสู่การสร้างช่องทาง วางกลยุทธ์ Chat Commerce เจาะตลาดไทยโดยเฉพาะ ด้วยการเปิด LINE Official Account และลงโฆษณาใน LINE เพื่อเข้าถึงคนไทย 

  • เอไอเอส จับมือ LINE ละจุฬาฯ เปิดทางนักนิสิตก้าว ครีเอเตอร์สติกเกอร์ สร้างรายได้
  • LINEเปิดตัวแคมเปญเร่งด่วน “กักตัว แต่ไม่ กักยอด”

ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ด้านแฟชั่นและเครื่องสำอางอย่าง CHANEL, Dior, Louis Vuitton ไปจนถึงแบรนด์รถยนต์หรูอย่าง Mercedes-Benz, Volvo และ BMW เป็นต้น โดยถือเป็นครั้งแรกที่แบรนด์ใหญ่ระดับโลกเหล่านี้ยอมปรับตัวให้เข้ากับตลาดเป้าหมาย โดยการใช้ LINE มาสร้างประสบการณ์การพูดคุยสื่อสารแบบ Personalize เฉพาะเจาะจงไปถึงผู้ใช้รายคน (1:1) ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรู้สึกใกล้ชิด เข้าถึงแบรนด์ได้ และที่สำคัญ ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนสำคัญของแบรนด์ด้วยการดูแลเอาใจใส่แบบ Personalize ที่ตรงจุด

3. ลงสนาม LIVE Commerce ผสานความบันเทิงแบบ Shoppertainment

การขายของผ่าน LIVE ยังคงเป็นการขายของที่มีเสน่ห์โดนใจคนในแถบเอเชียโดยเฉพาะ สำหรับในไทย SME อาจเห็นการลงทำ LIVE Commerce มาแล้วมากมาย แต่มีแบรนด์ใหญ่เพียงบางรายเพิ่งเริ่มลงสนามทำ LIVE Commerce บนช่องทางของตนเองอย่างจริงจัง ซึ่งการสร้างรูปแบบ คอนเทนต์ในการขายได้อย่างอิสระ และลูกค้าได้มีส่วนร่วมโดยตรงกับสินค้าและแบรนด์ไปเต็มๆ ถือเป็นข้อได้เปรียบของการทำ LIVE Commerce บนช่องทางตนเองสำหรับแบรนด์ใหญ่ 

ดังเช่น แบรนด์ Homepro ที่ลงสนาม LIVE Commerce ผ่าน LINE Official Account ด้วยยอดวิวเฉลี่ยหลักแสน และยอดขายจาก LIVE ที่พุ่งขึ้นสูงกว่าที่ได้จากช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ นอกจากนี้ การทำ LIVE ขายของที่ผสานความบันเทิง วาไรตี้ได้อย่างลงตัวหรือที่เรียกว่า Shoppertainment ถือเป็นเทรนด์การทำ LIVE Commerce ที่เหมาะกับคนไทยและจะเห็นมากขึ้นในปีนี้

โดยคาดว่าแบรนด์จะมองหาลูกเล่นมาสร้างสีสัน ความสนุกในโลกของ LIVE Commerce มากขึ้น 

และ Shoppertainment จะกลายเป็นรูปแบบหลักที่ผลักดันให้ LIVE Commerce เติบโต เห็นได้จากรายการ TuesLive x LINE SHOPPING รายการช้อปปิ้งออนไลน์ที่ผสานกลิ่นอายวาไรตี้ความบันเทิง ที่ประสบความสำเร็จด้วยยอดวิวทะลุเกิน 5 แสนคนในทุก Ep. และสามารถสร้างยอดขายสูงสุดจากแบรนด์เดียวได้มากถึงหลายแสนบาทภายใน 1 ชม. จาก Ep. ล่าสุดอีกด้วย

4.Trust over Price ผลักดัน Chat Commerce ในไทยเติบโต

การพูดคุยถึงรายละเอียดสินค้า บริการกับแบรนด์โดยตรงผ่านแชตแบบ 1:1 นำมาสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจในการซื้อสินค้า ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับผู้บริโภคไทย โดยลูกค้าจะมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาไว้ใจ มากกว่าปัจจัยเรื่องราคา หรือที่เรียกว่า ‘Trust Over Price’ 

ส่งผลให้การขายของผ่านแชตหรือ Chat Commerce ผ่าน LINE Official Account ในไทยเติบโตเป็นอย่างมาก เห็นได้จากยอดตัวเลขการแชตพูดคุยกับแบรนด์ต่างๆ ผ่าน LINE Official Account ที่พุ่งสูงขึ้นถึง 73% (เปรียบเทียบระหว่างครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังปี 2020) และ MyShop เครื่องมือเสริมประสิทธิภาพการขายของผ่าน LINE Official Account ที่มียอดการเติบโตรายเดือน (Monthly Growth) ของจำนวนร้านค้าที่ใช้งานสูงถึง 48% ในปีที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ การสร้างตัวตนของแบรนด์อย่างชัดเจนบนโลกดิจิทัล เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสร้าง ‘Trust’ ให้กับลูกค้าท่ามกลางร้านค้ามากมายในโซเชียลต่างๆ อีกด้วย โดย LINE พบว่ายอดการสมัครบัญชีรับรองหรือ Verified Account จากแบรนด์ต่างๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาเติบโต YoY สูงถึง 38% ชี้ให้เห็นว่าแบรนด์ต่างๆ เริ่มเห็นความสำคัญของการสร้างร้านค้า สร้างธุรกิจหรือแบรนด์ตนเองบนโลกออนไลน์อย่างจริงจัง

นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “การเดินหน้าทำธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2021 นี้ ถือเป็นความท้าทายระลอกสองที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวใดๆ มาเป็นหลักบรรทัดฐานอีกต่อไป แบรนด์ควรให้ความสำคัญในเรื่องของพฤติกรรม ความชื่นชอบของกลุ่มเป้าหมายในตลาดนั้นๆ เป็นหลัก 

โดยเฉพาะตลาดเอเชียรวมถึงไทย ที่ผู้ใช้มีพฤติกรรม ความชื่นชอบที่แตกต่างจากโลกตะวันตกโดยสิ้นเชิง การตลาดที่จะดึงดูด มัดใจกลุ่มเป้าหมายนี้ได้ ก็ควรแตกต่างและเป็นในแบบฉบับสำหรับคนไทย คนเอเชียด้วยกัน โดยมีรากฐานจาก Insight หรือข้อมูลดาต้าที่แน่นและแม่นยำ โดย LINE พร้อมเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยขับเคลื่อนให้ทุกธุรกิจในไทยสามารถเดินหน้าเพื่อเติบโตต่อไปได้ตาม 4 หลักธุรกิจดังกล่าวนี้ และขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการไทยทุกท่านไม่ย่อท้อ ร่วมกันสร้าง ร่วมกันวางกลยุทธ์ธุรกิจตนเองในแบบที่ใช่ เพื่อเดินหน้าต่อไปในปี 2021 นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

เมนูนำทาง เรื่อง

Previous Previous post: การบินไทย ลุย “เอ็กซพีเรียน มาร์เก็ตติง” สร้างสตอรี่-เมนูหวาน รับวาเลนไทนส์ 
Next Next post: คิงเพาเวอร์ ดึงกำลังซื้อ Duty Fee ผ่านส่วนลดรหัสพนักงานเพิ่มอีก รับมือต่างชาติยังไม่มาไทย

เรื่องล่าสุด

  • Broad Homes (02163.hk) to Intensify Its Leading Position Through Data-driven and Dual-driver Strategies
  • Venture Capitalist Ng You Zhi Seeks to Invest in Luxury Car Dealership Startups
  • นาย Jed McCaleb เทขาย 135.8 ล้าน XRP เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในกระเป๋าเหลืออยู่แค่ 76.3 ล้านเหรียญ
  • เจ้าสัวธนินท์เผยเสียเงินไปกับ Bitcoin กว่า 212 ล้านบาท แต่ก็ยังศึกษาอยู่
  • กองทุน Dubai เผยเทขาย Bitcoin มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาทเพื่อนำมาซื้อ ADA และ Dot

หมวดหมู่

  • ACN Newswire
  • Asia Presswire
  • JCN Newswire
  • Top Story
  • ธุรกิจ
  • ห่วงโซ่บล็อก
  • เงิน
  • เชิงพาณิชย์
  • เศรษฐกิจ

แท็ก

bitcoin blockchain covid-19 defi digital ethereum from group halving hong kong ndash ripple that will with กรุ๊ป กล่า? กล่าวว่า คน จำกัด จำนวน จุด ดอลลาร์ นอกจากนี้ นาย บริษัท บาท ประเทศไทย ปิดที่ ปี มหาชน มีนาค? ราคา ลดลง ล้านคน ล้านบาท อาทิ เดือน เปิดเผยว่า เพิ่มขึ้น เมษายน โครงการ ในปี ได้แก่

คลังเก็บ

  • กุมภาพันธ์ 2021
  • มกราคม 2021
  • ธันวาคม 2020
  • พฤศจิกายน 2020
  • ตุลาคม 2020
  • กันยายน 2020
  • สิงหาคม 2020
  • กรกฎาคม 2020
  • มิถุนายน 2020
  • พฤษภาคม 2020
  • เมษายน 2020
  • มีนาคม 2020
  • กุมภาพันธ์ 2020

Links

Bloomberg
Yahoo News
Reuters
Asahi
Newswire

  • About Us
  • Contact Us
  • Term Of Use
  • RSS
Copyright © 2020 SEASIABIZ.Com. All right reserved.