ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวใน งานสัมมนาออนไลน์ ผู้ประกอบการแสดงสินค้า …อุตสาหกรรม ดิจิทัล รองรับความปกติใหม่(New Normal) เรื่อง Digital Blueprint พิมพ์เขียวดิจัล เศรษฐกิจประเทศไทย” จัดโดย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) TCEB และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ Posttoday ว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งอยู่ภายในใต้แผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นจากปัจจุบันไปสู่อนาคต
ทั้งนี้มีการออกกฏหมาย 9 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะ 5 ปี (2560-2564) ในประเด็นแรกหากต้องการเห็นประเทศไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องเร่งพัฒนาคนด้านดิจิทัลจากคนไทยที่มีอยู่ 60-69 ล้านคน ซึ่งต้องยอมรับว่ายังขาดแคลนบุคคลากรด้านดิจิทัลอยู่ กว่า 2 หมื่นคน ในขณะที่ภาพรวมแต่ละปีผลิตแรงงานได้ปีละ 2 หมื่น โดย 1.3 หมื่นคนอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ที่เหลืออีก 7,000คน อยู่ในแรงงานภาคอื่นๆ
นอกจากนี้ยังได้ประเมินปัญหาระบบเศรษฐกิจ ตั้งแต่กลุ่มฐานรากและภาคสังคม แต่ทีผ่านมาภาครัฐได้มีความพยายามทำให้ชุมชนในพื้นที่ที่มี 7 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศ เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้ประชาชนรับรู้และประยุกต์ใช้ได้จริง และสุดท้ายในแผนต้องการให้เกิดการพัฒนาให้เกิดการต่อยอดด้านนวัตกรรมของคนไทย
อย่างไรก็ตามขณะนี้คนไทยมีมือถือใช้คิดเป็นต่อหัวค่อนข้างเยอะ แสดงว่าคนไทยพร้อม ด้านภาครัฐจัดให้มีโครงการเน็ตประชารัฐทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีระบบไวไฟเพื่อเข้าหาชุมชน 245,700 หมู่บ้าน
- "ดีป้า"เร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลพื้นฐานช่วยผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19
- “ดีป้า” ชี้ โควิด-19 กระทบธุรกิจดิจิทัล สวนทางจำนวนผู้ใช้งาน
เมื่อมองในด้านภาคอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม พบว่า กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม มีมูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัล 634,775 ล้านบาท โดยในกลุ่มของอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ มีมูลค่า 399,342 ล้านบาท ลดลง 7.9% เนื่องจากเป็นช่วงของสิ้นสุดของวัฎจัรเทคโนโลยี ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลง ถึงเวลาที่ต้องมี 2 ทางเลือกคือ การอยู่กับเทคโนโลยีเดิมที่มีต้นทุนลดลง หรือ การไปหาอินโนชั่นใหม่ๆ
ส่วนอุตสาหกรรมอื่นที่มีศักยภาดตคืออุตสาหกรรมซอฟแวร์ มีมูลค่า 134,817 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.37% มีอัตราการเติบโตที่ดี ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล ที่มีส่วนผลักดันให้ประชาชนได้เข้าถึงเทคโนโลยี มีการขยายตัว 15% รวมถึงดิจิทัลคอนเทนต์ การดูหนัง ฟังเพล และอื่น ก็การขยายตัวในระดับ 12-13%
อย่างไรก็ตามทางดีป้า มีการทำสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นดิจิทัล ในช่วงไตรมาส3ของปี 2563 พบว่า จาการสำรวจผู้ประกอบการอุตสหกรรมดิจิทัลใมีความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อยู่ที่ระดับ 49.8 ปรับตัวดีขึ้น จากไตรมาส2 สะท้อนให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นเริ่มกลับมา เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อม ทั้งเรื่องอุปกรณ์ และความสามารถในการใช้อุปกรณ์ ดังนั้นจึงเป็นจุดสำคัญสะท้อนให้เห็นว่าควรมีการต่อยอดอุตสาหรรมดิจิทัลในอนาคต
นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อสำรวจ 5 อุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวไปสู่ยุคดิจิทัล ได้แก่ อาหาร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องจักร ต้องยอมรับว่าการใช้เทคโนโลยีในหลายอุตสาหกรรมยังอยู่ในช่วงของอุตสาหกรรม 1.0 หรือแบบอนาล็อค การติดต่อซัพพลายเออร์ที่ยังคงส่งคำสั่งซื้อด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิก ส่วนหนึ่งเกิดจากสัดส่วนของกลุ่มธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมยังคงเป็นระดับเอสเอ็มอี จะมีเพียงบริษัทรายใหญ่ไม่กี่รายเท่านั้นที่เข้าสู่ระดับอุตสาหกรรม 4.0 แล้ว หรือคิดเป็นเพียง 0.4% ของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้ในระยะยาว
ผศ.ดร. ณัฐพล กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อเปลี่ยนธุรกิจไปสู่แพลตฟอร์มใหม่เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลการผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพของกลุ่มเอสเอ็มอี ขณะที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันในการพัฒนาโปรแกรมรองรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบเศรษฐกิจเพราะจะทำให้เกิดเอสเคิร์ฟในอนาคต